การเลือกใช้สำนักงานบัญชี

#HOW TO CHOOSE
ข้อพิจารณาในการเลือกใช้สำนักงานบัญชี 

ถ้าเราไม่เคยทำธุรกิจมาก่อนแต่จำเป็นต้องใช้บริการทำบัญชี  การสอบถามเพื่อนหรือญาติที่เรียนจบบัญชีมาคงเป็นสิ่งแรกๆ ที่จะต้องทำในการหาสำนักบัญชีมาเพื่อใช้บริการแต่ถ้าโชคร้ายในกรณีที่เราไม่มีเพื่อนหรือคนที่ไว้ใจอยู่ในวงการนี้ที่พอจะช่วยแนะนำสำนักงานบัญชีให้เรามันก็คงเป็นเรื่องที่น่าปวดหัวสักหน่อยที่เราจะได้สำนักงานบัญชีที่ถูกใจและเหมาะสมมาให้บริการ 

และนี่คือหลักเกณฑ์ง่ายๆ ในการเลือกสำนักงานบัญชีที่เชื่อถือได้และทำให้เรามั่นใจได้ว่าจะไม่ผิดหวังในการใช้บริการ มีตัวตนอยู่จริง

อันนี้ดูเหมือนพูดเล่นแต่เป็นเงื่อนไขแรกในการเลือกสำนักงานบัญชี สมัยนี้เราคงค้นหาชื่อตามเว็บไซต์ และอาจดูแค่อัตราค่าบริการ และรูปแบบการให้บริการที่น่าสนใจ แต่ถ้าเราลองเข้าไปดูในรายละเอียดสำนักงานที่มีเว็บไซต์สวยๆ อัตราค่าบริการที่น่าสนใจ อาจจะไม่มีตัวตนที่ต้ังอยู่จริงๆ ก็ได้ วิธีตรวจสอบในเรื่องนี้ คือ  ให้ดูชื่อ ที่อยู่ของสำนักงานบัญชีจากหน้าเว็บนั้นๆ  จากที่อยู่ ถ้าเชื่อมโยงกับ google map เราก็อาจจะเห็นภาพสถานที่ตั้งทางกายภาพของสำนักงานน้ันได้ มีทั้งที่ตั้ง ที่ทำการก็แสดงว่ามีตัวตน ส่วนจะสวยงาม หรูหราอันนี้ก็สุดแล้วแต่รสนิยมของแต่ละสำนักงาน 

จากชื่อ ถ้าเป็นบริษัทเราก็สามารถเข้าไปตรวจสอบสถานะของสำนักงานน้ันได้ว่าเป็นอย่างไร จากเว็บไซต์ https://datawarehouse.dbd.go.th/index ของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า ดูว่าสำนักงานน้ันจดทะเบียนมานานหรือยังหรือเพิ่งก่อต้ัง ตั้งมานานก็น่าจะสันนิษฐานไว้ก่อนว่ามีประสบการณ์(อย่างน้อยก็เอาตัวรอดมาได้ระดับนึงละนะ) 

ผลการดำเนินธุรกิจเป็นอย่างไรจากงบกำไรขาดทุนสำนักงานที่มียอดขายเติบโต มีกำไร ก็แสดงว่ามีการบริหารจัดการที่ดีการให้บริการต้องพอใช้ได้ (ไม่ง้ันลูกค้าคงเลิกทำไปแล้ว กิจการก็น่าจะขาดทุน) อีกนัยนึงการมีกำไรก็แสดงว่าจะมีเงินเหลือมาปรับปรุงการให้บริการอย่างต่อเนื่อง เมื่อรู้ว่ามีตัวตนจริงแล้วก็ต้องมาดูว่าแล้วจะทำงานให้เราได้หรือไม่? มีมาตรฐานในการทำงาน อันนี้เบื้องต้นเราคงต้องใช้มาตรฐานของหน่วยงานราชการที่เกี่ยวข้องเป็นตัววัดถ้าในแง่การทำภาษีก็คือ กรมสรรพากร กรมสรรพากร ก็จะมี “สำนักงานบัญชีตัวแทน (tax agent)” ที่กรมสรรพากรให้การรับรองกรมสรรพากรก็จะมีเงื่อนไขคัดกรอง ถ้าสำนักงานบัญชีไหนผ่านเงื่อนไขดังกล่าวก็จะได้เป็นสำนักงานบัญชีตัวแทนของกรมสรรพากร หน่วยงานที่สองที่เกี่ยวข้องคือกรมพัฒนาธุรกิจการค้าอันนี้จะเรียกว่า“สำนักงานบัญชีคุณภาพ” อันนี้ก็จะมีการตรวจในมาตรฐาน กระบวนการทำงานต่างๆเน้นทางด้านการทำบัญชี การเก็บเอกสาร การบริหารภายในของสำนักงานเลย แต่ถ้าไม่จำเป็นต้องเป็นมาตรฐานที่หน่วยงานรัฐรับรองบางสำนักงานก็อาจจะผ่านการรับรองคุณภาพการให้บริการตามมาตฐานอุตสาหกรรมอื่นๆเช่น  ISO อะไรอย่างนี้เป็นต้นอันนี้ก็ขึ้นอยู่กับเราจะพิจารณาประกอบการตัดสินใจ  เมื่อรู้ว่ามีตัวตน ทำงานให้เราได้ค่อยมาดูว่าเราจ่ายได้ม้ัย? 

#HOW TO CHOOSE
การเลือกสำนักงานบัญชี มีข้อพิจารณาหลายข้อที่ควรตำนึง เพื่อความสะดวก และเพื่อให้ได้สำนักงานบัญชีคุณภาพ KAC ยินดีให้คำปรึกษา
อัตรราค่าบริการ คือข้อพิจารณาแรกที่มักจะคำนึงถึงกัน ไม่ว่าจะเป็นจำนวนเอกสาร รูปแบบบริการที่ครอบคลุม ยินดีให้คำปรึกษา KAC รับทำบัญชี ราคาคุ้มค่า
#HOW TO CHOOSE

อัตราค่าบริการที่เหมาะสม 

อันนี้แล้วแต่ความพอใจนะครับแต่โดยธรรมชาติ ของดีและราคาถูก ถึงจะมีแต่คงน้อยมากถ้าถามต่อว่าแล้วเท่าไรจะดีก็พอจะบอกเป็นแนวทางให้พอคำนวณง่ายๆ ดังนี้ บริษัทนึงสมมติเอกสารรับ-จ่ายประมาณสัก 20 ใบ รวมทำทุกอย่าง ส่งภาษีทุกประเภท ลงบัญชี ค่าเฉลี่ยจะใช้เวลาประมาณ1 วัน บวกลบ 1 -2 ชั่วโมงต้นทุนหลักของงานบริการคือ ค่าแรงถ้านักศีกษาปริญญาตรีจบใหม่ สมมติที่ เดือนละ 15,000 บาท ทำงาน จันทร์-ศุกร์ในเดือนนึงก็จะมี 22 วัน เฉลี่ยกลมๆ คือ วันละ 700 บาทแค่นี้น่าจะพอมองเห็นแล้วว่าต้นทุนคือเท่าไรแต่ 700 บาท ข้างต้นยังไม่รวมค่าใช้จ่ายอย่างอื่นนะครับ ไม่รวมค่าเช่าออฟฟิศ ค่าไฟฟ้า ค่าเสื่อมราคาค่าสวัสดิการพนักงานอื่น ดังนั้นต้นทุนจริงมันต้องมากกว่า 700 บาท และปัจจัยที่สำคัญอีกอย่างคือนักศึกษาปริญญาตรีจบใหม่ ไม่เคยทำงานมาก่อนความน่าจะเป็นที่จะมีความสามารถทำงานข้างต้นเสร็จในเวลาที่ประมาณไว้คือ 1 วันบวกลบ 1-2 ชั่วโมง จะมีไม่เกิน 10% ดังน้ันถ้าจะให้มั่นใจว่างานข้างต้นเสร็จในเวลาที่ประมาณไว้ก็จะต้องใช้พนักงานที่มีประสบการณ์สัก 2-3 ปีทำ ซึ่งต้นทุนมันก็จะไม่ใช่ 700 บาทต่อวันละ มันก็จะมากกว่าน้ันอาจเป็น 1,000 บาทต่อวันเฉพาะต้นทุนค่าแรงเท่านั้นนะครับ ยังไม่มี ค่าเช่า ค่าไฟฟ้า อ้อและยังไม่บวกกำไร  

#HOW TO CHOOSE
#HOW TO CHOOSE
การปรับตัวให้ทันกับเทคโนโลยี

คือโลกสมัยนี้มันเป็นโลกของอินเตอร์เน็ตdigital, e-tax invoice, e-receipt อะไรหลายหลายอย่าง ฉะนั้นถ้าเราคิดว่าพวกนี้มันสำคัญมันก็ควรจะเป็นปัจจัยหนึ่งในการพิจารณาสำนักงานบัญชีเราน่าจะต้องการสำนักงานที่พร้อมจะปรับตัวกับเทคโนโลยีหรือนำเทคโนโลยีนั้นมาใช้ได้

ถ้าเราติดตามข่าวสารก็เห็นว่าหน่วยงานรัฐคือ กรมสรรพากรธนาคารแห่งประเทศไทยได้ประกาศนโยบายที่จะเคลื่อนภาคเศรษฐกิจทั้งหมดให้เป็นเปเปอร์เลส (paperless) ผ่านโครงการ prompt biz ที่เริ่มใช้ในปลายเดือนสิงหาคม 2566 ถ้าเราเป็นผู้ประกอบการอายุ 50 ปีตั้งใจว่าอีกไม่นานก็จะเกษียณ เรื่องนี้คงไม่สำคัญนัก แต่ถ้าเราอายุสัก 30 ปีเรื่องนี้น่าจะต้องสนใจหน่อย สำนักงานบัญชีดิจิตอลของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า น่าจะเป็นเกณฑ์ในการเลือกสำนักงานบัญชีของคุณ-- ลิ้งค์ dbd เมื่อก่อนเป็นปัจจัยสำคัญต้นๆแต่ตอนนี้อาจไม่แน่ ที่ตั้ง ด้วยเทคโนโลยีปัจจุบันเกณฑ์นี้เลยมาอยู่ท้ายสุด สมัยก่อนการไว้เนื้อเชื่อใจสร้างความเชื่อมั้น เราอาจอยากไปดูสถานที่ตั้ง หรือเห็นหน้าค่าตากัน แต่ในปัจจุบันเรื่องแบบนี้ก็อาจทดแทนได้ด้วยเทคโนโลยีต่างๆ เช่นถ้าเราอยากเห็นหน้าคุยเราก็วีดิโอคอลคุยกันไม่ต้องเดินทางไปเจอการส่งเอกสารเราก็ใช้แชร์ไฟล์ หรือส่งอีเมล หรืออื่นๆอีกมากมายการยื่นแบบภาษีก็ทำผ่านอินเตอร์เนตการชำระเงินทำผ่านโมบายส์แบงกิ้งถ้าทำบัญชีบนระบบคลาวด์เราอาจนั่งทำงานอยู่คนละจังหวัด หรือ คนละประเทศกันเลยก็ยังได้และข้อมูลก็เป็นปัจจุบันการตรวจสอบและการชี้แจงต่อกรมสรรพากรก็ผ่อนปรนให้ส่งทางอิเล็กทรอนิกส์ได้และแนวโน้มก็จะมากขึ้นเรื่อยๆ จากนโยบาย prompt biz  

สุดท้ายนี้เป็นปัจจัยเสริมนะครับถ้าผ่านคุณสมบัติข้างบนมาหมดแล้ว ค่อยมาดูข้อนี้ 
#HOW TO CHOOSE
พิจารณาเทคโนโลยี เพื่อความสะดวก และรวดเร็วในการให้บริการ สามารถสอบถาม KAC สำนักงานบัญชีดิจิทัลดีเด่นประจำปี 2563
ควรพิจารณาสำนักงานที่ได้รับใบอนุุญาตออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี มีความรับผิดชอบต่อการให้บริการ KAC เป็นนิติบุคคลจดทะเบียนต่อสภาวิชาีพบัญชี ยินดีให้บริการอย่างมั่นใจ
#HOW TO CHOOSE

ความคุ้มครอง 

การประกอบวิชาชีพบัญชีต้องมีใบอนุญาตออกโดยสภาวิชาชีพบัญชี (หน่วยงานที่ควบคุบการประกอบอาชีพนักบัญชีในประเทศไทย คล้ายสภานทนายความ หรือ แพทยสภา) คุณรู้หรือไม่? มีกติกาบังคับให้สำนักงานบัญชีที่เป็นนิติบุคคลต้องมีหลักประกันเพื่อประกันความรับผิดต่อบุคคลที่สาม (สำนักงานบัญชีในรูปบุคคลธรรมดาจะไม่ถูกบังคับจากสภาวิชาชีพบัญชีให้มีความคุ้มครองนี้)

#HOW TO CHOOSE